Welcome to my blog

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 4

ให้นักศึกษาไปค้นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้ในงานด้านต่างๆมาคนละ 3โปรแกรมต่างงานกัน ยกตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย แสดงภาพตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย





โปรแกรมประมวลคำ
ซอฟต์แวร์ประมวลคำเป็นซอฟต์แวร์ในการนำตัวอักษรมาเรียงต่อเป็นคำ ประโยคหรือย่อหน้า คล้ายเครื่องพิมพ์ดีดพิมพ์ข้อความบนกระดาษ แต่ต่างกันที่ตัวอักษรที่พิมพ์หรือป้อนเข้าทางแผงแป้นอักขระ จะเข้าไปเก็บอยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถดัดแปลงได้ง่าย ภายใต้ข้อกำหนดของซอฟต์แวร์ผู้ใช้สามารถกำหนดปรับแต่งรูปแบบได้ตามต้องการ เช่น การกำหนดเส้นกั้นหน้าและกั้นหลัง กั้นบนและกั้นล่าง เมื่อมีการแก้ไขจนเป็นที่พอใจแล้ว สามารถสั่งพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์ได้หลายชุดตามที่ต้องการ เอกสารที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ จะมีคุณภาพดีไม่มีรอยเปื้อนจากการแก้ไขดัดแปลง
a     
นอกจากนี้ยังสามารถเก็บบันทึกเอกสารนั้นเป็นแฟ้มในสื่อบันทึก เช่น แผ่นบันทึกเพื่อให้พกพาติดตัวไปใช้กับเครื่องอื่น แฟ้มเอกสารที่เก็บไว้แล้วนี้สามารถเรียกมาแสดงผลบนจอภาพเพื่อทำการดัดแปลงใหม่ได้อีกด้วย
a    
ลักษณะใช้งานซอฟต์แวร์ประมวลคำจะเป็นการเตรียมเอกสารที่มองเห็นงานพิมพ์ไปปรากฎที่จอภาพ ถ้าพิมพ์ผิดและต้องการแก้ไขเพิ่มหรือตัดทอนที่ตำแหน่งใด จะต้องเคลื่อนย้ายตัวชี้หรือตัวกระพริบบนจอภาพไปยังตำแหน่งนั้น เพื่อทำการแก้ไข เนื่องจากสามารถแทรก หรือลบอักษรหรือข้อความได้ตลอด และโปรแกรมจะคงรูปให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ จึงทำให้ไม่เสียเวลาและสิ้นเปลืองเหมือนการพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ดีดซึ่งถ้ามีข้อผิดพลาดจะต้องพิมพ์ใหม่










ตัวอย่างการใช้ซอฟต์แวร์ประมวลคำ Microsoft Word

       ซอฟต์แวร์ประมวลคำ มีคุณสมบัติดีเด่นกว่าการเตรียมเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ดีดหลายประการ อาจสรุปได้ดังนี้
aaaaa
1) สามารถควบคุมสั่งจัดวางรูปแบบเอกสารได้ใหม่ตามต้องการ โดยจะพิมพ์ผลลัพธ์ออกมาตามรูปแบบที่กำหนด เช่น การกำหนดจำนวนตัวอักษรในแต่ละบรรทัด การกำหนดตำแหน่งเริ่มต้นว่าจะชิดขอบซ้ายและตำแหน่งจบบรรทัดให้ชิดขอบขวาที่ตำแหน่งใด เป็นต้น
aaaaa2) ช่วยควบคุมให้แก้ไขดัดแปลงข้อความเป็นกลุ่ม คือ สามารถสั่งทำการลบ เคลื่อนย้าย หรือสำเนาข้อความเป็นคำ ประโยคหรือย่อหน้า จากตำแหน่งหนึ่งไปยังตำแหน่งอื่นของเอกสารได้ง่าย
aaaaa3) สามารถควบคุมการแสดงตัวอักษรของข้อความที่อาจเป็นตัวเข้ม ตัวหนา ตัวเอียง และขีดเส้นใต้ที่ตำแหน่งต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ การพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์จะได้แบบของตัวอักษรที่สวยงามตามต้องการ
aaaaa4) เอกสารที่จัดเตรียมไว้สามารถทำการจัดเก็บลงในเผ่นบันทึกในรูปของแฟ้มข้อมูล และสามารถเรียกแฟ้มนั้นออกจากแผ่นบันทึกกลับมาลงหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการแก้ไขข้อความบนจอภาพได้ทันที
aaaaa5) มีคำสั่งในการเรียกค้นคำหรือข้อความที่มีอยู่ในเอกสารได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้สามารถแก้ไขดัดแปลงได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น นอกจากการเรียกค้นแล้ว ยังสามารถให้มีการแทนที่คำหรือข้อความเดิมด้วยข้อความใหม่ได้ทันทีอย่างอัตโนมัติ เช่น การเปลี่ยนข้อความจาก "คอมพิวเตอร์" เป็น "ไมโครคอมพิวเตอร์" ในทุก ๆ แห่งที่พบในเอกสารนั้นเป็นต้น
aaaaa6) มีคุณสมบัติให้สามารถทำการเชื่อมแฟ้มข้อความที่อาจเป็นจดหมายกับแฟ้มข้อมูลที่เป็นชื่อหรือที่อยู่บริษัท เพื่อทำการพิมพ์เอกสารเอกสารลักษณะแบบเดียวกันหลาย ๆ ชุด พร้อม ๆ กัน เช่น การส่งจดหมายเชิญประชุมถึงผู้จัดการบริษัทต่างๆ จำนวนมาก โดยเนื้อหาของข้อความในจดหมายทุกฉบับเหมือนกัน ต่างกันที่ชื่อบริษัท ซอฟต์แวร์ประมวลคำจะพิมพ์จดหมายให้เองครบทุกฉบับด้วยการเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทเท่านั้น
a     ลักษณะพิเศษที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปของซอฟต์แวร์ประมวลคำ ในปัจจุบันซอฟต์แวร์ได้มีการพัฒนาให้ทำงานได้มากขึ้น ใช้งานได้สะดวกขึ้น ซอฟต์แวร์ประมวลคำยุคใหม่ก็ได้มีการพัฒนาเพิ่มคุณสมบัติอื่น ๆ อีกมาก คุณลักษณะที่เพิ่มขึ้นได้แก่
a     - การช่วยงานด้านการตรวจสอบตัวสะกด โดยการเปรียบเทียบข้อมูลกับพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บในรูปของแฟ้ม ถ้ามีการสะกดผิดก็จะมีคำที่คาดว่าถูกต้องแสดงให้เลือกพิจารณาเข้ามาแทนที่
a     - การแสดงความหมายของคำต่าง ๆ ที่มีเก็บในพจนานุกรมเรียบร้อยแล้ว และการเลือกคำพ้องความหมายแทนที่คำเดิม
a     - การสร้างข้อมูลในรูปแบบตารางได้ง่ายและสะดวก
a     - การนำรูปภาพมาผสมรวมกับข้อมูลที่มีแต่ตัวอักษร โดจะทำงานอยู่ในภาวะกราฟิก พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและรูปภาพ เราสามารถเลือกชุดแบบตัวอักษรได้หลายแบบอย่าง
a     - การช่วยงานด้านการตรวจสอบรูปแบบหรือรูปแบบของประโยค ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบไวยากรณ์ทางภาษา และวิเคราะห์ความน่าอ่านหรือความสละสลวยของเอกสาร วิธีการของการตรวจสอบนี้จะใช้หลักวิชาทางปัญญาประดิษฐ์ว่าด้วยกฎและข้อเท็จจริงทางภาษาศาสตร์ ซึ่งรูปแบบของประโยคที่โปรแกรมสามารถวิเคราะห์ได้ในปัจจุบัน จะยังอยู่ในวงจำกัดเฉพาะที่ใช้งานในวงการบริหารธุรกิจเท่านั้น
  
โปรแกรมตารางทำงาน
การวิเคราะห์และคำนวณตัวเลขของวิศวกร ด้วยการสร้างเป็นรูปแบบจำลองในลักษณะของสูตรคำนวณ และสมการทางคณิตศาสตร์ มักมีการขีดเขียน คำนวณ และจดบันทึกลงในกระดาษ โดยมีเครื่องคิดเลขเป็นเครื่องมือช่วยในการคำนวณ การคำนวณตามงานที่ออกแบบ หรือการค้นหาคำตอบของรูปแบบจำลองสมการที่สร้างขึ้น นับเป็นงานที่น่าเบื่อ และต้องใช้ความอดทนมากพอสมควร เพราะวิศวกรจะต้องทำการคำนวณใหม่ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าหลาย ๆ ครั้ง ตามการแปรเปลี่ยนอย่างไม่หยุดนิ่งขององค์ประกอบ หรือปัจจัยสำคัญของงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากงานนั้นเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของชีวิต และทรัพย์สินด้วย การคำนวนต่าง ๆ ก็ต้องยิ่งระมัดระวังให้มีการตรวจทาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและแม่นยำ






ตัวอย่างการใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน
A    
           ซอฟต์แวร์สำเร็จตารางทำงาน หรือกระดาษอิเลกทรอนิกส์ เป็นเครื่องมือช่วยเพื่อการวิเคราะห์และคำนวณตัวเลขให้กับวิศวกรได้เป็นอย่างดี เพราะการใช้งานซอฟต์แวร์นี้ จะเปรียบเหมือนกับการนั่งทำงานบนโต๊ะทำงาน ที่มีกระดาษแผ่นใหญ่ ๆ ประกอบด้วยตารางสี่เหลี่ยมของช่องตามแนวแถวและสดมภ์จำนวนมากมายปรากฏบนจอภาพ โดยแต่ละช่องบนแผ่นกระดาษอิเลกทรอนิกส์นี้จะเก็บข้อความเป็นตัวอักษร หรือตัวเลข หรือสูตรคำนวณ
a    
ภายในซอฟต์แวร์ตารางทำงานจะมีฟังก์ชันต่าง ๆ จัดมาให้เลือกใช้เรียบร้อยแล้ว เช่น ฟังก์ชันการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ฟังก์ชันการคำนวณทางสถิติ ฯลฯ ซึ่งฟังก์ชันเหล่านี้เปรียบได้กับเครื่องคิดเลขที่วางบนโต๊ะทำงาน ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลจากช่องต่าง ๆ บนกระดาษมาเป็นตัวแปรของฟังก์ชันหรือสูตรคำนวณ เพื่อคำนวณให้ได้ผลลัพธ์ออกมา และนำไปใช้ในการคำนวณของช่องอื่น ๆ ต่อไปได้อีก
a    
ข้อมูลในช่องต่าง ๆ บนตารางทำงานสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยง่ายด้วยการสั่งงานตามคำสั่งที่ปรากฏบนรายการเมนู ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแก้ไขนี้เปรียบได้กับการมียางลบที่ทำการลบ แล้วบันทึกค่าลงไปใหม่ ถ้าตารางทำงานนี้ไม่ถูกต้องใช้งานไม่ได้ ผู้ใช้อาจลบทั้งตารางและสร้างใหม่เหมือนการขยำกระดาษโยนใสถังขยะทิ้งไป แต่ถ้าตารางทำงานนี้ใช้งานได้ดีแล้ว ผู้ใช้ก็สามารถทำการบันทึกข้อมูลไว้ในแผ่นบันทึกเพื่อนำมาใช้งานใหม่ภายหลัง
a    
ขีดความสามารถพิเศษของตารางการทำงานมีมากมาย เช่น สามารถแสดงรายงาน ต่าง ๆ ในรูปแบบที่สวยงาม พิมพ์เป็นกราฟิกรูปภาพ หรือการแสดงผลอื่น ๆ


โปรแกรมการนำเสนอข้อมูล

โปรแกรมการนำเสนอข้อมูลคือ โปรแกรมสำหรับจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการนำเสนอข้อมูล เช่น แผ่นใส สไลด์ โปสเตอร์ เอกสารสำหรับผู้ฟัง หรือเอกสารสรุปสำหรับผู้พูด หากจะต้องเตรียมเอกสารเหล่านี้ด้วยมือทั้งหมด ก็จะต้องเตรียมงานในปริมาณที่ค่อนข้างมาก และต้องทำงานซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองเวลา ดังนั้น การนำเสนอข้อมูลในปัจจุบันจึงนิยมใช้โปรแกรมการนำเสนอข้อมูลแทน ซึ่งโปรแกรมการนำเสนอข้อมูลไม่ค่อยมีการปรับเปลี่ยนมากนัก มีเพียงการเพิ่มเติมส่วนการช่วยเหลือแนะนำ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้สะดวกรวดเร็วขึ้น เพิ่มความสามารถในการนำเสนอข้อมูลแบบสื่อประสม ที่มีทั้งข้อความ (Text) กราฟิก (Graphic) เสียง (Sound) วีดิทัศน์ (Video) เพิ่มความสามารถในการสร้างแฟ้มข้อมูลที่เป็นเอกสารเว็บ เพื่อให้ทันสมัยในยุคอินเทอร์เน็ตอีกด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมต่างๆ ได้ เช่น ความสามารถในการดึงข้อมูลจากโปรแกรมแผ่นตารางทำการ และโปรแกรมประมวลผลคำ เข้ามาใช้งานร่วมกัน เป็นต้น 




ขั้นตอนการทำสไลด์ประกอบการบรรยายโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ ซึ่งเป็นโปรแกรมการนำเสนอข้อมูลประเภทหนึ่ง 

คุณสมบัติทั่วไปของโปรแกรมการนำเสนอข้อมูลคือ การเริ่มต้นใช้งานได้ง่าย มีวัตถุดิบให้เลือกใช้มากมาย ความสามารถในการจัดการกับสไลด์ได้ง่าย และความสามารถในการควบคุมการแสดงผลของข้อมูลได้ดี

การเริ่มต้นใช้งานได้ง่าย หมายถึง โปรแกรมได้จัดเตรียมรูปแบบสไลด์ ที่จะนำเสนอข้อมูล ให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความพอใจ และตามความเหมาะสมของงาน โดยไม่จำเป็นต้องสร้างรูปแบบขึ้นมาเอง โปรแกรมบางโปรแกรมได้พัฒนาให้มีความสะดวกสำหรับผู้ใช้มือใหม่ ด้วยการเรียกใช้ส่วนช่วยเหลือแนะนำการสร้างงานนำเสนอข้อมูลที่ละขั้นตอนจนเสร็จ เพื่อให้ได้งานที่ถูกใจ นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังไม่จำเป็นต้องมีฝีมือทางศิลปะ และมีความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์เป็นพิเศษ ก็สามารถสร้างงานสำหรับนำเสนอข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว สวยงาม และสะดุดตา เพราะโปรแกรมการนำเสนอข้อมูลมีวัตถุดิบให้เลือกใช้มากมาย นอกจากข้อความ (Text) แล้วยังมีข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ เช่น แผนผัง ( Chart) กราฟิก (Graphic) เสียง (Sound) วีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น โปรแกรมรุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันจึงได้เพิ่มแฟ้มข้อมูลของวัตถุดิบเหล่านี้ไว้มากมายให้เลือกใช้ได้ตามความพอใจ ดังนั้น งานนำเสนอข้อมูลแบบใหม่จึงเป็นการแสดงข้อมูลที่ผสมผสานข้อมูลรูปแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน เรียกว่า การนำเสนอข้อมูลแบบสื่อประสม (Multimedia) ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เหล่านั้นจึงจัดเป็นวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับการสร้างงานนำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจและเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ความสามารถในการจัดการกับสไลด์ได้ง่าย หมายถึง ความสามารถในการกำหนดรูปแบบหลัก หรือรายละเอียดอื่นๆ ของสไลด์ไว้เพียงครั้งเดียว เช่น สีของพื้นหลังสไลด์ สีของข้อความ รูปแบบตัวอักษร เป็นต้น จากนั้น จึงนำรูปแบบหลักนี้ไปใช้กับทุกสไลด์ที่อยู่ในแฟ้มข้อมูลนั้นให้กับหน้าหลักเพียงหน้าเดียว ถ้ามีการแก้ไขปรับแต่งในภายหลัง ก็สามารถทำได้ในหน้าหลักเพียงหน้าเดียวเช่นกัน โดยโปรแกรมจะแก้ไขให้เองอย่างอัตโนมัติในทุก ๆ หน้า การสร้างหน้าใหม่ การลบสไลด์บางหน้า หรือการสับเปลี่ยนลำดับการแสดงผล สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องสร้างไปเรียงไปทีละหน้าให้ถูกต้องตั้งแต่แรก

ความสามารถในการควบคุมการแสดงผลของข้อมูลได้ดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุม การเปลี่ยนหน้าสไลด์แต่ละหน้า หรือการแสดงข้อความแต่ละบรรทัดแตกต่างกัน ตามความเหมาะสม เช่น ให้จอภาพของสไลด์หน้าที่แสดงเสร็จแล้ว ค่อยๆ เลื่อนออกไปทางด้านใดด้านหนึ่ง แล้วค่อยให้สไลด์หน้าต่อไปมาปรากฏแทน หรือในการกำหนดการแสดงข้อความ อาจกำหนดให้ข้อความค่อยๆ เลื่อนลงมาจากข้างบน หรือจากข้อความที่เลือนลาง แล้วค่อยๆ ปรากฏชัดขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้น ความสามารถนี้ช่วยให้การนำเสนอข้อมูลมีการเคลื่อนไหว จึงทำให้ไม่น่าเบื่อและน่าสนใจยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ในการสร้างงานนำเสนอข้อมูลที่ผ่านมา บางโปรแกรมสามารถสร้างแฟ้มข้อมูลหนึ่งแฟ้มต่อสไลด์หนึ่งหน้า ดังนั้น การแสดงผลข้อมูลเพียงรูปแบบเดียวก็เพียงพอแล้ว แต่สำหรับโปรแกรมที่สามารถสร้างสไลด์ได้หลายหน้า โดยบันทึกไว้ในแฟ้มข้อมูลเพียงแฟ้มเดียว ก็จำเป็นจะต้องมีวิธีแสดงผลข้อมูลในหลายรูปแบบ การแสดงผลข้อมูลแต่ละรูปแบบนี้เรียกว่า มุมมองเพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำงานกับสไลด์ได้สะดวกยิ่งขึ้น 






มุมมองที่แสดงให้เห็นสไลด์ทุกๆ หน้าพร้อมกัน เพื่อประโยชน์ในการจัดลำดับของสไลด์ที่จะนำเสนอได้อย่างชัดเจน 

มุมมองต่างๆ สำหรับการแสดงผลข้อมูล เช่น มุมมองแบบเรียงลำดับหน้าสไลด์ คือ จะแสดงให้เห็นสไลด์ทุกๆ หน้าพร้อมกัน และเห็นลำดับการจัดเรียงหน้าสไลด์ได้ทันที ดังนั้น ถ้าต้องการสับเปลี่ยนลำดับการแสดงผลข้อมูลใหม่ ก็สามารถทำได้ทันทีในขณะที่อยู่ในมุมมองนี้ โดยเลือกสไลด์หน้าที่ต้องการเปลี่ยนตำแหน่ง แล้วดึงไปวางในตำแหน่งตามต้องการ หรือมุมมองแบบที่สามารถเขียนคำอธิบายสไลด์กำกับไว้ใต้สไลด์แต่ละหน้า เพื่อใช้เป็นเอกสารสำหรับผู้พูด หรือมุมมองแบบแสดงผลเต็มหน้าจอสำหรับสไลด์ทีละหน้าตามลำดับก่อนหลังที่ได้เรียงไว้ มุมมองแบบนี้จะเป็นมุมมองที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลจริง ๆ ดังนั้น ผู้ใช้สามารถตรวจสอบการแสดงผลข้อมูลจริงได้จากมุมมองนี้
















วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment3


ให้ นศ. เขียนระบบการสอนวิชาอะไรก็ได้ในสาขาวิชาสังคมศึกษา มา 1 ระบบ อธิบายรายละเอียดโดยใช้หลัก IPO มาพอสังเขป


การสอนวิชาการเมืองการปกครองของไทย Input

- ครูผู้สอน
วัตถุประสงค์การสอน  สอนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เช่น
         
         1. เพื่อให้ทราบถึงการเมืองการปกครองไทยในระดับพื้นฐาน
         2. เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน
         3. เพื่อให้ทราบเหตุการณ์ในทางการเมืองไทย

- แผนการสอน    มีการเตรียมแผนการสอนของรายวิชาการเมืองการปกครองของไทยก่อนจะมาสอน

- เนื้อหาการสอน เนื้อหาต้องครบถ้วนสมบูรณ์
       
        1. วิวัฒนาการการปกครองไทย
        2. รัฐธรรมนูญ
        3. สถาบันทางการเมืองที่สําคัญในการเมืองไทยรัฐบาลรัฐสภาศาล
     4. การรัฐประหารกับการเมืองไทย

 -  ตำราเรียน

Process

วิธีการสอน เช่น

    วิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                เพื่อเป็นการฝึกฝนและควบคุมให้นิสิตได้พัฒนาศักยภาพ  เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง  อาจารย์ได้มอบหมายให้นิสิตต้องอ่านหนังสือตามที่อาจารย์ได้มอบหมายและแนะนำพร้อมทั้งต้องทำอนุทิน  โดยในคาบเรียนนิสิตสามารถซักถามและอาจารย์เป็นผู้ชี้แนะและให้ข้อมูล 
                รายงานจะมอบหมายให้นิสิตทำตามความเหมาะสมและรายงานหน้าชั้นเรียน  พร้อมทั้งต้องมีเอกสารประกอบการนำเสนอ  และเปิดโอกาสให้นิสิตในชั้นได้ร่วมกันซักถามและแสดงความคิดเห็น

พานักเรียน ไปศึกษาดูงาน ในสถานที่ ที่มีความสำคัญเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของไทย

การใช้สื่อรูปแบบต่างๆ ต้องน่าสนใจและดึงดูดใจ เหมาะสมกับวัยของนักเรียน หรือ นักศึกษาเช่น
      1. เอกสารการสอน                                               
      2. วีดีทัศน์, CD-ROM                                        
      3. สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ได้แก่หนังสือวารสาร               

      4. สื่อโทรทัศน์ วิทยุ
- ผู้เรียนค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองจากหนังสือหรือสืออินเตอร์เน็ต
- แบบฝึกหัด
- การบ้าน

Output

 1. การวัดผลประเมินผล

    - แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
    - ประเมินผลจากการตรวจแบบฝึกปฏิบัติของนักเรียน.
    - ประเมินผลจากการทําแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
    -แบบประเมินคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
    - ถามตอบเปนรายบุคคล
2.การสอบ
3.ผลสอบ
4.ทักษะ เช่น สามารถเรียนรู้กับปัญหาที่เกิด และมีทักษะในการเรียนที่ดี
5.คะแนนผู้เรียน
6.ความรู้ มีความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองของไทยและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
7.ทัศนคติ
8.เกรด
9.แบบสอบถาม

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment2

 การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็นระบบ System หรือไม่ ตามระบบ  I O P

จัดว่าเป็นระบบ System
Input
1. การปลูกอ้อย
2. การดูแลจนอ้อยโตเต็มที่
3. การตัดอ้อย
4. นำอ้อยเข้าโรงงานทำน้ำตาล

Processing
1.
กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction) :
         ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต และน้ำตาลทราย
2.
การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย
(Juice Purification) :
        น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรองต่าง ๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว
3.
การต้ม (Evaporation) :
       น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)
4.
การเคี่ยว (Crystallization) :
      น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)
5.
การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) :
       แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ


กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลรีไฟน์ น้ำตาลทรายดิบถูกนำไปละลายน้ำ แล้วถูกผ่านเข้า 5 ขั้นตอนการผลิต ดังนี้
6.
การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling) :
         นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลือง หรือกากน้ำตาลออก
7.
การทำความสะอาด และฟอกสี (Clarification) :
         น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
8.
การเคี่ยว (Crystallization) :
        น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
9.
การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) :
       แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
10.
การอบ (Drying) :
       ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก 

Output

1. ได้น้ำตาลทรายที่ต้องการ
2. การบรรจุใส่ผลิตภัณฑ์
3. การจำหน่ายน้ำตาล
4. กากน้ำตาล
http://www.thaisugarmillers.com/tsmc-02-02.html

เฉลยการบ้านครั้งที่ 2



     I                                              p                                                                      O

ฮาร์ดแวร์                           การสกักน้ำอ้อย                                                น้ำตาลทราย

ซอฟแวร์                            การทำความสะอาดอ้อย                                    กากน้ำตาล

ข้อมูล                                การต้มให้ได้น้ำเชื่อม                                       ชานอ้อย

บุคลากร                              การเคี่ยวให้เป็นผลึกและกาก                              

                                                                การอบ
                                                การบรรจุถุง